วิเคราะห์สถานการณ์



สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ปี พ.. ๒๕๕1 - 2558 อำเภอไชโย  มีอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 2,425.62 , 2,559.26 ,2,860.59 ,3,515.57 ,3,881.61 , 4,823.22 , ๔,๘๗๕.๙๕ และ 5374.99 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และมีอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ดังนี้ 4,787.19 , 4,925.37 , 5,889.09 , 7,146.99 , 7,529.44 , ๗,๘๒๔.๘๔ , ๘,๐๑๒.๑๑ และ 9456.01 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องมาจากการรณรงค์ตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีความครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น ทำให้ค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกได้มากขึ้น จึงทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จัดทำเป็นระบบ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยใน รพ.สต.และรพ. และมีอัตราป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ดังนี้ 105.26 , 100.97 , 123.74 , 124.76 , 141.15 , 161.52 , ๑๖๒.๖๘ และ155.50 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ซึ่งอัตราป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ในปี 2552 มีอัตราป่วยลดลง และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี ๒๕๕๓ – ๒๕๕๗ และอัตราป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือด ดังนี้ 105.26 , 105.36 , 114.57 , 98.03 , 114.68 , 89.73 , ๙๐.๓๘ และ 86.55 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ซึ่งมีอัตราป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือด ที่เพิ่มขึ้น และลดลง โดยในปี 2554 และ 2556 มีอัตราป่วยลดลงจากปีก่อน และเพิ่มขึ้นในปี ๒๕๕๗

กราฟแสดง อัตราป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง และหัวใจขาดเลือดอำเภอไชโย
ปี ๒๕51 – ๒๕๕8

อัตราต่อแสนประชากร

 


 อัตราส่วนเพศหญิง ต่อ เพศชาย ในปี 2558 โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงพบผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยโรคเบาหวาน พบเพศหญิงจำนวน 993 ราย  เพศชาย 478 ราย  อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย  เท่ากับ  2.08 : 1 โรคความดันโลหิตสูง พบเพศหญิงจำนวน 1,660 ราย เพศชาย 948 ราย  อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย  เท่ากับ  1.75 : 1 โรคหลอดเลือดสมอง พบเพศหญิงจำนวน 8 ราย เพศชาย 26 ราย  อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย  เท่ากับ  3.25 : 1 โรคหัวใจขาดเลือด พบเพศหญิงจำนวน 7 ราย เพศชาย 13 ราย  อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย  เท่ากับ  1 : 1.8๖ ซึ่งโรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจขาดเลือดในอำเภอไชโยพบผู้ป่วยเพสชายมากกว่าเพศหญิง โดยที่ข้อมูลอัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย ในโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด ไม่แตกต่างจากในปี ๒๕๕๖ ซึ่งมีแนวโน้มดังนี้
กราฟแสดง อัตราป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง และหัวใจขาดเลือดอำเภอไชโย
              แยกชายและหญิงปี 2558


         
จากกราฟ พบว่าในปี 2558 โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง พบอัตราป่วยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (โรคเบาหวาน อัตราป่วยในเพศหญิง 4297.40 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยในเพศชาย 2068.64 ต่อแสนประชากร โรคความดันโลหิตสูง อัตราป่วยในเพศหญิง 7183.97 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยในเพศชาย 4102.65 ต่อแสนประชากร) แต่โรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจขาดเลือด พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง (โรคหลอดเลือดสมอง อัตราป่วยในเพศหญิง 34.62 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยในเพศชาย 112.52 ต่อแสนประชากร โรคหัวใจขาดเลือด อัตราป่วยในเพศหญิง 30.29 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยในเพศชาย 56.26 ต่อแสนประชากร)

กราฟแสดง อัตราป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง และหัวใจขาดเลือด อำเภอไชโย
              ในเพศชาย เปรียบเทียบปี 2557 และปี 2558


          จากกราฟพบว่า อัตราป่วยในเพศชาย เปรียบเทียบปีงบประมาณ 2557 กับ ปี 2558 มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นทั้ง 4 โรค
กราฟแสดง อัตราป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง และหัวใจขาดเลือด อำเภอไชโย
              ในเพศชาย เปรียบเทียบปี 2557 และปี 2558


จากกราฟพบว่า อัตราป่วยในเพศหญิง เปรียบเทียบปีงบประมาณ 2557 กับ ปี 2558 มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นทั้ง 4 โรค

กราฟแสดง ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อำเภอไชโยแยกตามกลุ่มอายุ ปี 2558



กลุ่มอายุที่พบสูงสุดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือ กลุ่มอายุ 60 -  79  ปี (ร้อยละ 49.63) รองลงมาคือ กลุ่มอายุ  45 - 59 ปี (ร้อยละ 33.24) , มากกว่า 80 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 10.40) , 30 - 44 ปี (ร้อยละ 5.57) , 15 - 29  ปี (ร้อยละ 1.02) และน้อยกว่า 15 ปี (ร้อยละ 0.14) ตามลำดับ และกลุ่มอายุที่พบสูงสุดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง คือกลุ่มอายุ 60 -  79  ปี (ร้อยละ 50.08) รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 45 - 59 ปี (ร้อยละ 28.57) , มากกว่า 80 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 15.15) , 30 - 44 ปี (ร้อยละ 5.48) และ 15 - 29  ปี (ร้อยละ 0.73) ตามลำดับ
          
ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด
ชื่อ-สกุล   นางกัญญารัตน์ ทองสด      เบอร์โทร(มือถือ) 081-374-0316
Email  Address : SORN_KUNYARAT@HOTMAILCOM ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ


ไม่มีความคิดเห็น: